Home เฮฮา พ.ร.บ. หาย!! แล้วจะต่อภาษีได้ไหม ทำไงดี ?
พ.ร.บ. หาย!! แล้วจะต่อภาษีได้ไหม ทำไงดี ?
Admin 24.9.63 0
พ.ร.บ. หาย!! แล้วจะต่อภาษีได้ไหม ทำไงดี ?
พ.ร.บ. หาย ทำไงดี!! ต่อภาษีรถยนต์ได้ไหม? ใครที่ทำ พ.ร.บ. หาย ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ พ.ร.บ.มอเตอร์ไซค์ คงเกิดความกังวลและสงสัยว่าต้องทำอย่างไรดี ต้องแจ้งความไหม? และจะยังสามารถ ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ ได้หรือเปล่า…เราไปหาคำตอบพร้อมกันดีกว่าค่ะ
พ.ร.บ. หาย แล้วจะต่อภาษีรถได้ไหม?
พ.ร.บ. ถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นต่อรถยนต์ทุกประเภท เพราะเป็นประกันภัยภาคบังคับ ที่ช่วยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บต่อชีวิตและร่างกายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ อีกทั้งยังต้องใช้เอกสาร พ.ร.บ. ในการต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ อีกด้วย ซึ่งถ้าหาก พ.ร.บ. หาย ต้องรีบไปแจ้งความทันที แต่ถ้าจำไม่ได้ว่าทำ พ.ร.บ. รถยนต์ กับบริษัทประกันใด และหมดอายุวันไหนละก็ สามารถโทร.ตรวจสอบได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186 ตลอด 24 ชั่วโมงค่ะ
เอกสารขอ พ.ร.บ. รถยนต์ใหม่มีอะไรบ้าง
- สำเนาใบแจ้งความ หรือ สำเนาบันทึกประจำวัน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สมุดคู่มือทะเบียนรถ หรือ รายการจดทะเบียนรถ (ตัวจริงและสำเนา)
ขั้นตอนการ ขอ พ.ร.บ.รถยนต์ใหม่
- ดำเนินเรื่องขอ พ.ร.บ.รถยนต์ ใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งสาขาใกล้บ้าน
- แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการขอ พ.ร.บ.รถยนต์ฉบับใหม่ พร้อมกับยื่นใบแจ้งความให้แก่เจ้าหน้าที่
- จากนั้นจะได้รับใบคำร้อง กรอกรายละเอียดลงในใบคำร้องและเอกสารต่างๆ ให้ครบถ้วน
- รอรับบัตรคิวและรอดำเนินการ
- ชำระค่าธรรมเนียม 25 บาท
พ.ร.บ. หาย ต่อภาษีรถยนต์ได้ไหม ?
อย่างที่ทราบกันว่าในการ ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ ต้องใช้เอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ แนบมาด้วยทุกครั้งในการต่อภาษี
แต่ถ้า พ.ร.บ.ตัวจริงหาย!!แต่มีสำเนา พ.ร.บ.รถยนต์ ที่เคยถ่ายเอกสารเก็บไว้ละก็ สามารถนำ สำเนา พ.ร.บ.รถยนต์ มาใช้ ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์ ได้เลย
แต่ถ้าไม่มี สำเนา พ.ร.บ. แนะนำให้รีบไปทำเรื่องขอ พ.ร.บ. รถยนต์ ใหม่ตามขั้นตอนข้างต้น หรือสามารถติดต่อขอสำเนา พ.ร.บ. รถยนต์ ผ่านตัวแทนหรือบริษัทประกันภัยหรือโบรกเกอร์ที่เราได้ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ได้เลยค่ะ
หากใครที่ พ.ร.บ.รถยนต์หาย หรือ พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์หาย ก็สามารถดำเนินเรื่องขอ พ.ร.บ. ใหม่ตามขั้นตอนที่เราได้บอกกันไปได้เลยค่ะ
และหากใครที่ พ.ร.บ.รถยนต์ หมดอายุ ก็สามารถ ต่อ พ.ร.บ. กับเราได้ง่ายๆ เพียง คลิกที่นี่ ค่ะ