ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี เคลมอะไรได้บ้าง?

ต่อ พ.ร.บ. ทุกปี เคลมอะไรได้บ้าง?

เคยสงสัยบ้างไหม? พ.ร.บ. รถยนต์หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ที่เราต่ออยู่ทุกปีนั้นสามารถเคลมอะไรได้บ้าง เรื่องสำคัญแบบนี้ผู้ขับขี่ทุกคนจะต้องรู้และทำความเข้าใจ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ก็จะได้ใช้สิทธิ์และเบิกค่าใช้จ่ายที่พึงได้ตามความคุ้มครอง












พ.ร.บ.รถยนต์ที่เจ้าของรถทุกคนต้องจ่ายเมื่อต่อภาษีป้ายทะเบียนทุกปี เป็นการทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับประเภทที่ 3 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จะมีประโยชน์ทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ขึ้นมาถึงขั้นมีการบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

พ.ร.บ. เคลมอะไรได้บ้าง?

เมื่อขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ สิ่งที่คุณสามารถเคลมได้ คือ

ค่าเสียหายเบื้องต้น ที่สามารถเคลมได้โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด ได้แก่

  • บาดเจ็บ กรณีที่ได้รับการบาดเจ็บจากการขับขี่รถยนต์ สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ โดยทาง พ.ร.บ. จะจ่ายตามที่ได้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน และหากในระยะเวลาต่อมา เกิดการทุพพลภาพหรือพิการ ทางบริษัทประกันฯ ก็จะจ่ายให้อีก แต่รวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน

  • ทุพพลภาพ กรณีที่เกิดการทุพพลภาพหรือพิการทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ ก็สามารถเคลมค่าเสียหายได้ แต่ทาง พ.ร.บ. จะจ่ายค่าเสียหายในเบื้องต้นให้ไม่เกินจาก 35,000 บาทต่อคน

  • เสียชีวิต กรณีที่เสียชีวิตทันทีหลังจากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ ทาง พ.ร.บ. จะจ่ายเงินชดใช้ค่าทำศพให้ โดยจะจ่ายที่ 35,000 บาทต่อคน แต่หากเสียชีวิตหลังจากการรักษาพยาบาลตามข้อ 1 ทาง พ.ร.บ. ก็จะจ่ายแบบเหมารวมไม่เกิน 65,000 บาท


ค่าเสียหายส่วนเกิน ค่าเสียหายส่วนเกินหรือค่าชดเชยจะจ่ายหลังจากพิสูจน์ความผิดแล้ว โดยบริษัทประกันภัยที่เป็นฝ่ายผิด จะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ประสบภัย/ทายาทผู้ประสบภัย ซึ่งแบ่งเป็นกรณีดังนี้ค่ะ

  • กรณีบาดเจ็บ จะจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาล รวมค่าสินไหมทดแทนให้ไม่เกิน 80,000 บาท

  • กรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะจ่ายชดเชยให้ทั้งหมดเป็นจำนวน 300,000 บาท ซึ่งหมายรวมถึงค่ารักษาพยาบาลด้วย


พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองใครบ้าง?

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ถูกตราขึ้นเพื่อให้ทุกคนที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอันเนื่องมาจากรถ ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร่งด่วน ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใคร อยู่ในรถหรือนอกรถ จะเป็นผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสาร โดยทางบริษัทประกันฯ จะชดใช้ค่าเสียหายในเบื้องต้นเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือค่าปลงศพให้ทันที โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิดค่ะ


และเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น และต้องการเคลมค่าเสียหาย สามารถทำได้หลายวิธี ตามประเภทความเสียหายดังนี้ค่ะ

  • การเคลมค่าเสียหายกรณีบาดเจ็บ จะต้องนำเอกสารเหล่านี้ไปยื่นกับทางบริษัทประกันฯ เพื่อขอเคลม ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ประสบอุบัติเหตุ ใบเสร็จต้นฉบับจากโรงพยาบาล ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (กรณีทุพพลภาพ) และบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถ
  • การเคลมค่าเสียหายจากการเสียชีวิต จะต้องนำเอกสารดังต่อไปนี้ ไปยื่นกับทางบริษัท ได้แก่ สำเนาบันทึกประจำวันพนักงานสอบสวนหรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นถึงแก่ความตายเพราะการประสบภัยจากรถ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประสบอุบัติเหตุ สำเนาบัตรประชาชนทายาท สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาใบมรณบัตร

อย่างไรก็ตาม กฎหมายนี้ให้ความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย และอนามัยเท่านั้นไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สิน เช่น ค่าซ่อมรถแต่อย่างใดนะคะ


รถทุกคันต้องทำ พ.ร.บ.

การฝ่าฝืนไม่ทำพ.ร.บ. หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับมีโทษตามกฎหมายค่ะ


(ตัวอย่าง) บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เช่น

  • เจ้าของรถ ผู้เช่าซื้อรถ หรือเจ้าของรถที่นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ที่ไม่จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ.นี้มาใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท.

แม้จะมี พ.ร.บ ให้ความคุ้มครอง แต่ก็ไม่คุ้มค่ากับการบาดเจ็บหรือการเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นอยู่ดีนะคะ ผู้ขับขี่ต้องขับรถอย่างมีสติและไม่ควรประมาทนะคะ และเพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน ป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ก็อย่าลืมเลือกทำ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่มอบความคุ้มครองและดูแลครอบคลุมความเสียหายสูงสุด เลือกราคาที่ใช่ และที่เหมาะกับคุณที่สุดนะคะ


หากสนใจสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประกันภัย หรือบริการด้านต่างๆของเรา สามารถติดต่อเราได้ที่โทร. 02-759-9400, 094-964-5464 แอดไลน์ @insurefriend หรือการสแกนคิวอาร์โค้ดด้านล่างค่ะ

 


 สแกนคิวอาร์โค้ดที่นี่ค่ะ 



My Instagram

Copyright © InsureFriend.net.